เมื่อพระมหาเงื่อมตัดสินใจแน่วแน่แล้วที่จะกลับบ้าน
แล้ว ในวันที่ 6 เมษายน
พุทธศักราช 2475
พระมหาเงื่อมก็เดินทางกลับถึงบ้านที่พุมเรียง และเข้าพักชั่วคราวในโบสถ์วัดใหม่พุมเรียง
การกลับมาครั้งนี้มีเพียงโยมน้องชายและเพื่อนในคณะธรรมะทาน 4 – 5
คน
ที่ร่วมรับรู้ถึงปณิธานอันมุ่งมั่นของพระมหาเงื่อม ทุกคนเต็มอกเต็มใจที่จะหนุนช่วยด้วยความศรัทธา โดยพากันออกเสาะหาสถานที่
สำรวจกันอยู่ประมาณเดือนเศษก็พบวัดร้างเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ ชื่อ
ตระพังจิก ซึ่งรกร้างมานาน บริเวณเป็นป่ารกครึ้มมีสระน้ำขนาดใหญ่
เมื่อเป็นที่พอใจแล้วคณะอุบาสกดังกล่าวก็จัดทำเพิงที่พัก อยู่หลังพระพุทธรูปเก่าซึ่งเป็นพระประธานในวัดร้างนั้น
แล้วพระมหาเงื่อมก็เข้าไปอยู่ในวัดร้างพระพิงจิก เมื่อวันที่
12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2475
อันตรงกับวันวิสาขบูชาดดยมีอัฐบริขาร
ตะเกียง และหนังสืออีกเพียง 2 – 3
เล่ม ติดตัวไปเท่านั้น เข้าไปอยู่ไดไม่กี่วัน วัดร้างนามพระพิงจิกนี้
ก็ได้รับการตั้งนามขึ้นมาใหม่โดยพระมหาเงื่อม
ซึ่งเห็นว่าบริเวณใกล้ที่พักนั้นมีต้นโมกและต้นพลาขึ้นอยู่โดยทั่วไป
จึงคิดนำคำทั้งสองมาต่อเติมขึ้นมาใหม่ให้มีความหมายในทางธรรม จึงเกิด คำว่า “ สวนโมกขพลาราม
“ อันหมายถึง สวนป่าอันเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์ โดยเริ่มการขบคิดเรื่องต่างๆ และลงมือค้นคว้าพระไตรปิฎกต่ออีกด้วยตนเอง เมื่อถึงเดือน สิงหาคม พุทธศักราช
2475
ก็เริ่มถ่ายทอดอุดคติอันตนศรัทธาเชื่อมันออกเป็นงานเขียนเรื่อง “
ตามรอยพระอรหันต์ ”
หัวใจของพระมหาเงื่อมในเวลานั้น เต็มเปี่ยมด้วยความรู้สึกที่จะมอบกายถวายชีวิตให้กับ
งานของพระศาสดา จึงตั้งนามตนเองขึ้นใหม่ว่า “ พุทธทาส ”
ตามบทสวดตอนหนึ่งในภาษาบาลีนาม พุทธทาส
จึงเป็นที่รู้จักมาจนถึงบัดนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น